เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 6. ทุติยโยธาชีวสูตร
สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือไม่แยกถือปฏิบัติ
เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาป
อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทาง
จมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศล
ธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์
ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน
อาหารเสร็จแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า ไปสู่
โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌาในโลกได้แล้ว ฯลฯ ละนิวรณ์ 5
ประการนี้ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ1 ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่
ผูกสอดธนูและแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็น

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 75 (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า 130 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :137 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 7. ปฐมอนาคตภยสูตร
ผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
อยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 5
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ทุติยโยธาชีวสูตรที่ 6 จบ

7. ปฐมอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ 1
[77] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต 5
ประการนี้ ไม่ควรเป็นผู้ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัด
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตราย1นั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 1 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เราเมื่ออยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เรา

เชิงอรรถ :
1 อันตราย ในที่นี้หมายถึงอันตรายต่อชีวิตและอันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ แต่สำหรับผู้เป็นปุถุชน
เมื่อสิ้นชีวิตไปพึงมีอันตรายต่อสวรรค์ หรืออันตรายต่อมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/77/39)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :138 }